วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรคกรดไหลย้อน ควรศึกษาไว้และหาวิธีรักษาไว้

Healthofproduct กลับมากับบทความเรื่องสุขภาพอีกครั้งซึ่งได้ห่าง
จากการเขียนบทความเป็นเดือน เลยตั้งใจว่าต่อจากนี้จะกลับมาสาน
ต่อและจะทำการอัปเดทบ่อยๆ เพื่อนำความรู้มาสู่ทุกๆ คนได้
อ่านกัน วันนี้เราก็จะมากล่าวเกียวกับ โรคกรดไหลย้อน  หากใคร
เคยเป็นก็จะรู้ว่ามันทรมนขนาดไหน วันนี้เราไปดูวิธีแก้และรักษา
โรคกันเถอะ




     มนุษย์เรานั้นเป็นได้สารพัดโรค เกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะ นอกจาก
โรคเสื่อมถอย (Degenerative Diseases) ที่มนุษย์เราป่วยมากที่สุด
แล้ว เช่น โรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ยังมีโรคยุคตาม
สมัยที่คนเป็นกันมาขึ้นในขณะนี้อีกหลายโรค เช่น โรคปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อจากการนั่งทำงาน ดูจอคอมพิวเตอร์ เล่นสมาร์ทโฟน
เป็นเวลานาน โรคเครียด จากภาวะต่างๆ ทั้งเรื่อง ครอบครัว
เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น มีอีกหนึ่งโรคที่สังเกตุว่ามีคนเป็น
กันมากขึ้นในปัจจุบัน

     จากการตรวจรักษาผู้ป่วยทีโรงพยาบาลและทีคลินิกในช่วง
หลายปีหลัง พบว่าผู้ป่วยกลุมนี้มักจะมาหาผมด้วยอาการ จุกใน
ลำคอกลืนน้ำลายแล้วเหมือนมีอะไรขวางอยู่ในลำคอ ไม่รู้ว่าจะ
เป็นเนื้องอกในคอหรือเปล่า ในรายทีกังวลมากๆ จะคิดสงสัย
ว่าตนเองคงจะเป็น โรคมะเร็ง พอเจออาการผู้ป่วยอย่างนี้ 
สำหรับหมอหู คอ จมูก ตรวจผู้ป่วยทันทีโดยไม่ต้องไปซักประวัติ
อะไรมากมาย ให้ผู้ป่วยอ้าปากและแลบลิ้นยาวๆ จับลิ้นผู้ป่วยไว้
หยิบกระจกเงาอันเล็กๆ ส่องเข้าไปในคอให็เห็นกล่องเสียง 
และบริเวณรูเปิดของหลอดอาหาร ถ้าพบว่ามีการอักเสบ บวมแดง
ฟันธงทันทีว่าเป็นโรค "กรดไหลย้อย" ไมใช่เนื้องอกหรือโรคมะเร็ง
อย่างทีผู้ป่วยเข้าใจ




โรคกรดไหลย้อน 
GERD (Gastroesophageal Reflux Diseases) 




Credit ภาพโดย www.google.co.th




     คือสภาวะทีมีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมา
บริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะทีไม่ทนต่อกรด 
จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหาร
จะมีการบีบตัวไลอาหารลงด้านล่างและมีหูรูดทำหน้าที่ป้องกันการ
ไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไมให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณ
หลอดอาหาร สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร
หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร หรือมี ปัจจัยเสริม
อื่นๆ อีกเช่นกินเสร็จอิ่มๆ หรือกินอาหารเสร็จยังไม่ถึง 3 ชั่วโมง
แล้วนอน สูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดืมน้ำอัดลม
หรือรับประทานอาหารประเภท ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มี
รสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เป็นประจำ ตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน
พบได้มากในคนอ้วน คนสูบบุหรี่ การไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก
อาจไหลออกนอกหลอดอาหารทำให้เกิดการอักเสบของกลองเสียง
ลำคอ หรือปอด ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
อาจเป็นเรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้



ภาวะของกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ


ระดับแรก

ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้ว
ก็หายไป

ระดับสอง

ผู้ป่วยมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร

ระดับสาม

ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึง
กล่องเสียง หรือหลอดลม



     นอกจากจะมีอาการจุกในลำคอ เหมือนมีอะไรขวางอยู่ในลำคอ
แล้วอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือทีเรียกว่า 
Heart Burn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ กลืนอาหาร
ลำบาก ถ้าเป็นมากจะเจ็บคอมากจนอาจจะกลืนอาหารแทบจะไม่ได้
มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดใน
ปากหรือลำคอ รายทีเป็นมากจะไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบ
โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอนกรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้
มาก หรือเป็นโรคปอดอักเสบได้




การรักษากรดไหลย้อน


1. ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มี
ความสำคัญมากโดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไมให้
เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดใน
กระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบ
ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน ที่สำคัญการรักษาด้วย
วิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นหรือหาย
ดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาก็ตาม ควรพยายามลดน้ำหนัก ถ้า
น้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อน
ได้มากขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ 
ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรด
มากขึ้น หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณ
รอบเอว





Credit ภาพโดย www.google.co.th




     ปรับนิสัยการรับประทานอาหาร หลังจากรับประทานอาหาร
พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลังกาย ยกของหนัก
เอี้ยวหรือก้มตัว หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับ
ประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
พยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและพยายามหลีกเลี่ยง
อาหารทีปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม
กระเทียม มะเขือเทศ ฟาสต์ฟูด ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่
เนย ไข่ นม หรืออาหารทีมีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด 
หวานจัด เป็นต้น รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควร
รับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารปริมาณ
ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น
น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดย
เฉพาะในตอนเย็น

     ปรับนิสัยในการนอน ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอ
ประมาณ 3 - 4 ชัวโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ
15 - 25 เซ็นติเมตรจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ
อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้
ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น




Credit ภาพโดย www.google.co.th



2. การรักษาโดยใช้ยา ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการ
ได้ด้วยยา เช่น ยาลดกรด ยาลดการหลั่งกรดเพื่อลดปริมาณกรดใน
กระเพาะอาหาร หรือเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารใน
การกำจัดกรด ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 - 3 เดือน
กว่าที่อาการต่างๆ จะดีขึ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องตรวจเพิ่มเติม
เช่นการกลืนแป้งตรวจกระเพาะ


3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึงรักษาด้วยวิธีนี้น้อยที่สุด ใช้เฉพาะราย
ที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยยาต่อเนื่องแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงจะทำ
การรักษาด้วยการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหารให้รัดตัวแน่นขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาอีก

     การรักษาของผมเมื่อตรวจพบผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนจะให้ความ
สำคัญกับการปรับเปลียนนิสัยเป็นหลัก เพราะถ้าไม่ปรับเปลี่ยนนิสัย
การกินการนอนต่อให้รักษาด้วยยาแล้วอาการดีขึ้น ก็จะกลับมาเป็น
ซ้ำอีก จนต้องกลับมาหาผมอีกเสมอๆ อยากให้ทุกๆ ท่านปรับเปลี่ยน
นิสัยต่างๆ เสียตั้งแต่วันนี้ รวมทั้ง ลดภาวะเครียด ผมมั่นใจว่าเราจะ
ไม่ป่วยเป็นโรคนี้ครับ




Credit ภาพโดย www.google.co.th




  เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเรื่องของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเราทุกคน
ไม่มีใครอยากเป็นกันหรอก เพราะฉะนั้นเรานำความรู้ดีๆ ไปแบ่งปัน
และทำตามก็จะช่วยเราได้เยอะเลยนะครับ หวังว่าบทความสุขภาพ
ของ Healthofproduct จะช่วยเพิ่มความรู้ให้กับทุกๆ ท่านได้นะครับ
แล้วพบกันใหม่กับบทความสุขภาพเรื่องต่อไปนะครับ ^^




ขอขอบคุณที่มาสาระและประโยชน์ดีๆ โดย

นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น