วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โรคข้อ โรคที่เราทุกคนมีโอกาศเป็นเมื่อสูงอายุ

Healthofproduct วันนี้กลับมากับบความสุขภาพ เกี่ยวกับเรื่องของ
โรคข้อ ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทรมานสำหรับคนมีอายุเยอะ แต่ก็ไม่
เสมอไปบางทีอายุน้อย ก็สามารถเกิดได้ เราไปทำความรู้จักกับ
โรคข้อกันเลยดีกว่า 




โรคข้อ (JOINT DISEASE)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


ความจริงที่เกี่ยวกับ โรคข้อ


1. โรคข้อเป็นโรคเรื้อรังที่มีปัญหาระดับชาติที่สำคัญมากและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วย
    เกิดภาวะทุพพลภาพ แต่จะพบได้บ่อยขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น เป็นโรคที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้
    ป่วยไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมในการรักษาโรคนี้มีผลต่อ
    เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียโอกาศการทำงาน


2. ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบคนเป็นโรคข้อถึง 1 ใน 3 ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งประเทศ
    ประมาณ 66 ล้านคน หรือเท่ากับประชากรไทยทั้งประเทศ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการรักษา
    โรคข้อในประเทศสหรัฐอเมริกา สูงถึงปีละ 3.5 ล้านล้านบาท


3. ในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคข้อสูงถึง 6 ล้านคน จากข้อมูลของมูลนิธิโรคข้อ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้
    ความเ้าใจโรคข้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคข้อเมื่อเรามีอายุมากขึ้น




โรคข้อ เป็นกลุ่มโรคที่...

เกิดการอักเสบขึ้นบริเวณโครงสร้างภายใน และภายนอกของข้อ โดยมีลักษณะอาการ เจ็บปวดตามข้อ
ข้อบวม แดง ร้อน อาการฝืดตึงขัดในการเคลื่อนไหวของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ 
การผิดรูปร่างของข้อ รวมไปถึงอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ 


โรคข้อ บางโรคมีลักษณะ

ตามแบบที่กล่าวมาหรือมีลักษณะที่แตกต่างไปบ้าง ซึ่งหากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ
ก็สามารถดูแลและป้องกันมิให้โรคกำเริบได้ แต่หากดูแลผิดวิธีหรือไม่ถูกต้องตามหลักการแพทย์
อาจจะทำให้ข้อเกิดอาการอักเสบและกำเริบมากขึ้นจนถึงขั้นเรื้อรังหรือพิการถาวรก็เป็นได้





Credit ภาพ โดย www.google.co.th



โรคข้อแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 


1. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะจากการรับน้ำหนักและการใช้งานมานาน มีอาการเจ็บปวดข้อ ข้อบวม
    การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ แต่ไม่มีลักษณะของ
    การแดงร้อนและกดเจ็บตามข้ออย่างชัดเจน อาทิเช่น กลุ่มอาการของ โรคข้อกระดูกเสื่อม
    โรคข้อกระดูกันหลังเสื่อม เป็นต้น


2. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะการอักเสบภายในข้อ มีอาการเจ็บปวดข้อบวม แดง ร้อน การกดเจ็บตามข้อ 
    การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ อาทิเช่น โรคข้ออักเสบ
    จากการติดเชื้อ โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น




สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อ 


1. อายุ พบมากในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะเป็นในกลุ่มอาการของโรคข้อเสื่อม

2. เพศ เพศหญิงจะมีโอกาศเกิดโรคข้อมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่าตัว 

3. ความอ้วนหรือระดับน้ำหนักตัวมาก มักทำให้ข้อเข่า ข้อสะโพกหรือข้อสันหลังต้องรับน้ำหนักมากกว่า
    ธรรมดา ซึ่งจะทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วมากยิ่งขึ้น

4. ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน ส่วนมากมักเกิดบริเวณข้อเข่า

5. กรรมพันธุ์ บางรายมีกระดูกอ่อนที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด และอาการจะชัดเจนขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

6. โภชนาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดผลึกเกลือต่างๆ อาหารที่ทำจากสัตว์ปีก 
    ทำให้เป็นโรคเกาต์ 




โรคข้อที่พบได้บ่อย 


1. โรคข้อเสื่อม


     มักเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ส่วนมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บ
ปวดตามข้อเข่า ข้อนิ้วมือ กระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง ข้อจะติดขัด ขยับไม่ค่อยออก อาจมีเสียง
สั่นดังในข้อ ข้ออาจเป็นตุ่มนูน ข้อคดงอ หลวม คลอนได้ 


2. โรคเกาต์


     มักจะเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปพบว่าเพศชายเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศหญิง ในระยะแรกการ
ปวดบวมตามข้อมักจะเป็นๆ หายๆ และมักจะเป็นบริเวณโคนข้อ หัวแม่เท้าและข้อเท้า ระยะหลังพบว่า
เป็นข้อตามผิวหนัง ตามข้อเท้าและข้อศอกได้ อาจมีอาการปวดเอวและปัสสาวะเป็นเลือด มักจะเกิด
ร่วมกับคนที่มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ


3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์


     มักจะเกิดในคนที่อายุระหว่าง 20 - 50 ปี เพศหญิงจะพบว่าเป็นมากกว่าเพศชาย ซึ่งอาการเจ็บปวด
และบวมตามข้อมักจะเรื้อรังและเป็นในหลายๆ ข้อ และจะมีอาการข้อยึดเป็นอย่างมากในตอนเช้าๆ 
ข้อมักจะบวม ระยะท้ายๆ ข้อจะคดงอและพิการผิดรูปร่างจะไม่สามารถงอข้อได้ โรคนี้เป็นมากๆ 
อาจถึงขนาดทำให้เป็นง่อยได้ 




การรักษา 


1. การรักษาทางยา


ควรเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคข้อชนิดนั้นๆ และเหมาะสมกับปัญหาที่พบในระยะของโรค ยาบางชนิด
นอกจากให้ผลของการรักษาที่ดีแล้ว ยังอาจสร้างอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยได้ด้วย
ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยาแต่ละชนิด 


     - ภาวะแทรกซ้อนจากยาลดอักเสบแบบดั้งเดิม (NSAIDs) อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ 
อาเจียน มีแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น


     - ภาวะแทรกซ้อนจากยาสเตียรอยด์ อาจทำให้อ้วน และความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกผุ 
ติดเชื้อง่าย



2. การรักษาทางกายภาพบำบัด


เป็นการรักษาเพื่อลดอาการ และป้องกันการพิการของข้อและฟื้นฟูสมรรถภาพข้อให้ใช้งานได้ดีขึ้น 
การรักษาแบบนี้เป็นการรักษาที่จะต้องนำมาใช้ควบคู่กับการรักษาทั้งทางยาและการผ่าตัด 



3. การรักษาทางการผ่าตัด


จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบว่าข้อมีความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาหรือกายภาพบำบัด การผ่าตัด
จึงเป็นทงเลือกเพื่อแก้ไขความพิการหรือเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ข้อนั้นๆ 





     เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความดีๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโรคข้อ
ทั้งหมดนี้เราต้องศึกษาไว้ เพราะมันสำคัญต่อเรามากๆ 
หวังว่า ความรู้นี้จะช่วยหลายคนที่เข้ามาอ่านได้มีความรู้ความเข้าใจ
และสาเหตุของโรคได้ Healthofproduct ครั้งหน้าก็จะกลับมา
กับทความที่เกี่ยวกับเรื่องข้ออีก รอไม่นานอย่างแน่นอน




ขอขอบคุณที่มาสาระและประโยชน์ดีๆ โดย

นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์



วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ดวงตาของคนเราเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เป็นสิ่งที่คุณและทุกๆ คนจะต้องรู้

วันนี้ Healthofproduct ก็ได้กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปหลาย
วันพอควร เรื่องที่จะมาเอ่ยถึงในวันนี้ก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับ
ดวงตาเช่นเคย เพราะครั้งก่อนเราได้รู้เรื่องโรคที่เกี่ยวกับดวงตา
แต่ตอนนี้ เรามาทำความรู้จักกับดวงตาที่สำคัญต่อการมองเห็นของ
เรากนดีกว่า




คุณรู้หรือไม่ ?

     ดวงตาของคนเรามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นอวยวะที่ช่วยในการมองเห็นและรับรู้ภาพต่างๆ 
เป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสที่สำคัญของร่างกาย เราจึงใช้สายตาในการใช้ชีวิตประจำตลอดเวลายกเว้น
ขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นการมอง การแปลผลสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา การป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย ตลอด
จนช่วยในด้านการเรียน การอ่านหนังสือ ดูทีวี และทำกิจกรรมอื่นๆ ในบางครั้งดวงตายังเป็นหน้าต่าง
ของหัวใจของใครหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ หากดวงตาของเราไม่สามารถมองเห็นหรือเกิดปัญหาขึ้น
กับดวงตาของเราแล้ว คงเห็นแต่โลกที่มืดมิด ขาดสีสัน ขาดการรับรู้ที่สำคัญของมนุษย์เราไป
ทำให้ต้องใช้จินตนาการร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆ ในการสร้างภาพประกอบสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา
ดังนั้นดวงตาของเราจึงมีความสำคัญต่อีวิตของเราอย่างยิ่ง เราจึงควรเรียนรู้ส่วนประกอบหลักของ
ดวงตาที่ช่วยในการมองเห็นว่ามีหน้าที่อย่างไรบ้าง





Credit ภาพ โดย www.google.co.th



นัยน์ตาขาว (Sclera)

     เป็นส่วนสีขาวของลูกตา ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อลูกตาช่วยให้เกิดความแข็งแรงและเป็น
โครงสร้างของลูกตา


เลนส์แก้วตา (Lens)

     เลนส์แก้วตาเป็นส่วนใสๆ อยู่หลังม่านตา หน้าที่ของเลนส์แก้วตาคือช่วยโฟกัสเพื่อการมองเห็น
ที่ชัดเจนมากขึ้นในการอ่าน หรือการมองระยะใกล้โดยการปรับรูปร่างของเลนส์ให้เหมาะสม


กระจกตา (Cornea)

     กระจกตามีลักษณะเป็นเยื่อบางใส รูปทรงคล้ายหน้าต่างรูปโดมที่คลอบคลุมอยู่ด้านหน้าของลูกตา
มีพื้นผิวที่ทำหน้าที่หักเหแสงท่ผ่านเข้าไปในลูกตาทำให้ดวงตามีกำลังที่จะโฟกัสได้มากถึง 2/3 เท่า


ช่องหน้าลูกตา (Anterior chamber)

     ซึ่งมีน้ำไหลเวียนอยู่ และป้องกันการติดกันระหว่างเลนส์ตา (lens) และกระจกตา (cornea) อยู่
ระหว่างด้านหลังของตาดำและด้านหน้าของม่านตาและเลนส์ตา


ม่านตา (Iris)

     ม่านตาเป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้าตามเชื้อชาติ ม่านตาทำหน้าที่
เปรียบเสมือนรูรับแสงของกล้องถ่ายภาพ คือช่วยควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัว
ของกล้ามเนื้อม่านตา เพื่อให้ปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไปสู่เลนส์ตาจะอยู่ในระดับพอเหมาะ โดยปกติรูม่าน
ตาจะขยายเมื่ออยู่ในที่สว่าง เพื่อปรับแสงที่เข้าสู่ดวงตาให้เหมาะสมกับการมองเห็น และไม่เป็น
อันตรายต่อจอประสาทตา


รูม่านตา (Pupil) 

     รูม่านตา คือ สีดำของนัยน์ตา อยู่ตรงกลางดวงตามีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ลูกตา
เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้ารูม่านตาจะหดทำให้แสงเข้าตาได้น้อยลง ส่วนในที่มืดรูม่านตา
จะขยายเพื่อให้แสงเข้าตาได้มากขึ้น 


วุ้นลูกตา (Vitreous)

     วุ้นลูกตามีลักษณะคล้ายเจลอยู่ด้านในช่องหลังลูกตาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของตาใน
การช่วยรักษาและทำให้ตาคงรูปร่างปกติโดยมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณน้ำ
ในดวงตา


คอรอยด์ (Choroid)

     คอรอยด์เป็นชั้นที่แทรกอยู่ระหว่างจอประสาทตาและนัยน์ตาขาว ด้านหลังประกอบด้วยเส้นเลือด
จำนวนมาก เพื่อหล่อเลี้ยงจอประสาทตา 


จอประสาทตา (Retina)

     จอประสาทตาเป็นชั้นบางๆ ของเซลล์รับภาพที่อยู่ด้านหลังของดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญ
ประกอบด้วยเส้นประสาทตาที่มีความละเอียดสูงอยู่ในผนังชั้นในของลูกตา ทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์
ถ่ายรูปโดยจะทำหน้าที่ในการรับแสงส่งสัญญาณภาพที่ได้ผ่านไปทางเส้นประสาทตาสู่สมองเพื่อ
แปลสัญญาณเป็นภาพที่เรามองเห็นทำให้เรารับรู้ว่าเป็ฯภาพอะไร


เส้นประสาทตา (Optic Nerve)

     เส้นประสาทตาอยู่ทางด้านหลังของลูกตา ทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านการกระตุ้นของการมองเห็นจาก
จอประสาทตามายังสมอง เพื่อแปลผลภาพที่เรามองเห็น





Credit ภาพ โดย www.google.co.th




เราจะเห็นได้ว่าทุกองค์ประกอบของดวงตามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมองเห็น ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า
จนกระทั่งเข้านอน เราใช้สายตาอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้สายตาเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันนี้เนื่องจาก
จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอทีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ต้องข้องเกี่ยวกับโลก
ของโซเชียล ออนไลน์ ดูจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ เพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้สายตา
มากขึ้นเกินกว่าที่ดวงตาของเราจะรับไหว จึงเกิดโรค CVS (Computer Vision Syndrome) กันมาก
ทำให้เกิดอาการ ปวดตา เมื่อยตา ตามัว มองเห็นภาพซ้อน ตาแห้ง แสบตา แม้ว่าเราจะทราบวิธีป้องกัน
โรค CVS จากการปรับเปลี่ยนวิธีและสร้างนิสัยในการดูแลถนอมดวงตา เช่น ไม่ใช้สายตามากเกินไป
ในการเพ่งมองจอคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าไม่มีวินัยที่ดีพอในการดูแลในการป้องกันก็หลีกเลี่ยงโรค CVS
ได้ยากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยระดับโลกจึงพยายามค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่อง
เพื่อค้นหาสารสำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาเรา ในที่สุดก็ค้นพบ
สารประกอบและผลไม้จากธรรมชาติหลากหลายชนิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีประโยชน์
ในการบำรุงดวงตาช่วยให้ดวงตาของเรามีประสิทธิภาพในการมองเห็นได้ดีขึ้น มีดังต่อไปนี้




Lutein and Zeaxanthin (ลูทีน และ ซีแซนทีน)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


     เป็นสารธรรมชาติจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีมากในผัก ผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม 
เช่น ข้าวโพด ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม ทั้งลูทีนและซีแซนทีน มีคุณสมบัติเป็นสารต้าน
อนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในโรคที่เกิดจากการมีสารอนุมูลอิสระสูงได้ เมื่อตาได้รับแสง
มากเกินไปจะก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระในกระจกตาและจอตาได้ ทำให้เกิดออกซิเดชั่นของโปรตีน
และไขมันในเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาเสื่อมลงก่อให้เกิดโรคต้อกระจกตามมา จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่า
ทำไมสารลูทีนและซีแซนทีน จึงสามารถลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและโรคของจอตา หรือที่
เรียกว่าโรคจอรับภาพเสื่อมมีการวิจัยวัดระดับของลูทีนและซีแซนทีนในกระแสเลือดพบว่า การมีระดับ
ของลูทีนและซีแซนทีนในกระแสเลือดสูงจะมีเลนส์ตาที่ใสกว่า มีความสามารถในการมองเห็นดีกว่า
และจอรับภาพสามารถรับภาพได้ชัดกว่า ดังนั้นลูทีนและซีแซนทีนจึงช่วยบำรุงสายตา เหมาะกับผู้ใช้
สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้าเป็นเวลานานๆ ผู้ที่ต้อง
ขับรถเวลากลางคืน ผู้ที่โดนแฟลชหรือดูทีวีเป็นเวลานาน




Vitamin A (วิตามินเอ)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


     วิตามินเอเป็นส่วนประกอบสำคัญของ Cornea มีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น ช่วยให้สายตาสามารถปรับ
สภาพในที่มืดได้ดีโดยเฉพาะเวลาที่มีแสงน้อย Retinol หรือวิตามินเอจะรวมตัวกับโปรตีนชื่อ Opsin
(ออพซิน) เป็นสารประกอบ Rhodopsin (โรดอพซิน) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดแสงและปรับสายตาให้มอง
เห็นชัดขึ้น สารประกอบนี้จะถูกสลายไปเมื่อถูกใช้ไปในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นการได้รับวิตามินเอที่
เพียงพอจะช่วยสร้างสารโรดอพซินได้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หากขาดวิตามินเอจะทำให้
มองเห็นได้ยากในที่มืด นอกจากนี้ยังทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล




Goji Berry (โกจิเบอร์รี่)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


     เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่มีสีแดง ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ จากงานวิจัยพบว่า Goji Berry มีลูทีนและ
ซีแซนทีนสูงมาก จึงช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของตาได้เป็นอย่างดี




Bilberry (บิลเบอร์รี่) และ Raspberry (ราสพ์เบอร์รี่)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


     เป็นผลไม้ที่มีสารแอนโธไซยานินสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในที่มืด ช่วยลดระยะเวลา
ในการปรับแสงจากสว่างไปสู่ที่มืดหรือที่มีแสงสลัวได้เร็วขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ
เอนไซม์หลายชนิดที่อยู่ภายในจอประสาทตา (Retina) ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ช่วยป้องกันจอประสาท
ตาสำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับแสงสว่างจ้ามากๆ เช่น แสงแฟลช ซึ่งสามารถทำลายจอประสาทตาจนอาจ
ทำให้ตาบอดได้ สามารถป้องกันโรคต้อหิน ต้อกระจกได้ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ไปยัง
หลอดเลือดที่ดวงตา นอกจากนี้ยังช่วยคงระดับสารโรดอพซินในดวงตาที่อาจลดลงในช่วงที่มีการใช้
สายตาเป็นเวลานาน




Blueberry (บลูเบอร์รี่)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


     สารสกัดจากบลูเบอร์รี่สามารถรักษาเซลล์ม่านตาและสามารถป้องกันบรรเทาอาการปวดตา ส่งเสริม
การมองเห็น ป้องกันและปรับปรุงอาการตาแห้งและป้องกันโรคต้อหิน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้สายตา
มากๆ นักเรียน นักศึกษาและผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคของสายตา




เมื่อเรารับรู้คุณค่าของสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อดวงตาของเราแล้ว หากเราอยากดูแลและถนอมดวง
ตาของเราให้มีประสิทธิภาพใช้งานได้ดีตลอดไป ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีสารประกอบเหล่านี้
อย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันโรค CVS และโรคเสื่อมของตาอื่นๆ ทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการมองเห็นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



 และทั้งหมดนี้ก็คือความรู้เรื่องความสำคัญของการใช้ดวงตาของ
เรา หวังว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกๆ คนที่เข้ามาอ่าน 
และได้ความรู้กลับไป ครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องสุขภาพอะไร 
Healthofproduct จะนำมาให้ความรู้อย่างแน่นอน




ขอขอบคุณข้อมูลบทความดีๆ จาก

นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์












     






วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โรคเกี่ยวกับดวงตาที่ทุกคนต้องรู้ โรค CVS (Computer Vision Syndrome)

บทความสุขภาพ Healthofproduct กลับมาให้ความรู้กับทุกคนอีกครั้ง
โดยครั้งนี้ จะมาเล่าเรื่องความสำคัญของโรคที่ทำลายสุขภาพดวงตา
อย่าง โรค CVS เพราะดวงตาของเราสำคัญอย่างยิ่งที่สุดเราจึงละเลย
เรื่องสุขภาพของดวงตาไม่ได้




โรค CVS หรือเรียกว่า Computer Vision Syndrome




Credit ภาพ โดย www.google.co.th


Credit ภาพ โดย www.google.co.th




     ปัจจุบัน Computer,Tablet และ Smart Phone เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา 
ทั้งที่ทำงานและที่บ้านทั้งเพื่อประโยชน์ในการทำงาน อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร รวมถึง
เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จนถือเป็นปัจจัยที่ 6 ของมนุษย์ไปแล้ว แม้แต่ตัวผมเองก็ใช้
Ipad ในการทำงานวันละหลายชั่วโมงและต้องถือติดตัวอยู่ตลอดเวลา แทบจะปล่อยห่างตัวไม่ได้
ซึ่งก็คงจะเหมือนกับคนทั่วๆ ไปในสังคมปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามการใช้คอมพิวเตอร์ก็มีผลเสียต่อ
สุขภาพของดวงตาหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพทางตา ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า
โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า CVS หรือ Computer Vision Syndrome เป็นโรคทางสายตา
ซึ่งเกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย พบในผู้หญิง
มากกว่าผู้ชาย เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ผู้หญิงมีโอกาศเป็นโรคตาแห้งมากกว่าผู้ชาย พบตั้งแต่เด็ก
จนถึงผู้สูงอายุ โดยเด็กจะไม่มีขีดจำกัดของการตระหนักในตนเองอาจเล่นเกมส์ในคอมพิวเตอร์
เป็นเวลา 2 - 3 ชั่วโมงหรือตลอดทั้งวันโดยไม่มีการพัก ทำให้เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนัก
มีโอกาศเป็นโรคสายตาสั้น 




Credit ภาพ โดย www.google.co.th



มีการศึกษาที่ประเทศสิงค์โปร์ในเด็กอายุ 7 - 9 ขวบ พบวาภายใน 3 ปีมีเด็กเป็นโรคสายตาสั้นเพิ่มขึ้น
อีกเท่าตัว สำหรับในผู้สูงอายุก็มีความเสี่ยงในเรื่องของจอประสาทตา ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
และเป็นโรคต้อหินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนตาบอดในปัจจุบันนี้ ดังนั้นเพื่อให้ทุกคน
รับมือกับโรคไอทีในยุคที่คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนถือครองโลกได้อย่างทันท่วงที 
ผมจึงรวบรวมต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรค CVS และวิธีป้องกันรักษาโรคมาให้อ่านกันครับ 


โรค CVS คือกลุ่มอาการทางตาที่ประกอบไปด้วยอาการต่างๆ มากมายภายหลังจากการใช้จอคอม
พิวเตอร์เป็นเวลานาน ปัจจุบันพบอุบัติการณ์นี้มากถึง 70 - 80 % ของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมด
และมีแนวโน้มจะสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จุดเริ่มต้นของโรค CVS เกิดจากการที่สายตาจับอยู่
กับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไป ทำให้อัตราการกระพริบตาลดลงกว่า 60 % เมื่อเทียบจาก
ปกติซึ่งต้องกระพริบตาประมาณ 15 ครั้ง/นาที ทำให้ผิวตาแห้ง แสบตา เคืองตา คันตา ปวดเมื่อยตา
ปวดกระบอกตา ตามัว ตาสู้แสงไม่ได้ บางรายเห็นภาพซ้อน เห็นสีผิดเพี้ยนจากปกติ โดแบ่งเป็นกลุ่ม
อาการใหญ่ๆ ดังนี้




1. ปัญหาปวดตาหรือเมื่อยตา (Eye Strain, Tired Eye)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th




เกิดจากการเพ่งสายตาติดต่อกันอย่างยาวนาน ทำให้มีอาการเมื่อยล้าจากการใช้สายตา ทั้งนี้การอ่าน
ตัวหนังสือจากจอคอมพิวเตอร์เราต้องเพ่งมากกว่าปกติเนื่องจากตัวหนังสือเกิดขึ้นจากจุดหลายจุด
มาต่อกัน ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษซึ่งจะชัดเจนกว่าจึงทำให้ปวดเมื่อยตา
ได้ง่ายกว่า




2. ปัญหาเคืองตา แสบตา (Ocular Surface Problems)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th




ปกติคนเราจะมีน้ำตาเคลือบผิวอยู่ตลอดเวลาเป็นการหล่อเลี้ยงตา แต่ถ้าเมื่อใดน้ตาเคลือบผิวตาน้อย
กว่าปกติก็จะเกิดอาการตาแห้ง มีอาการแสบตา เคืองตา ตาแดง มีตาพร่ามัวได้ การดูจอคอมพิวเตอร์
นานๆ เป็นผลให้การกระพริบตาน้อยลงเมื่อเทียบกับปกติ รวมทั้งมีระยะการกลอกตาค่อนข้างจำกัด
ส่งผลให้เกิดน้ำตาระเหยออกไปมาก ก่อให้เกิดปัญหาตาแห้งตามมา ส่งผลให้เกิดอาการทางตา
ต่างๆ ตามมา 




3. ปัญหาตามัว (Blurred Vision)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th




จากการใช้สายตาเพ่งเกมหรือคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
รวมทั้งแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ตามัว เกิดภาวะคล้ายสายตาสั้น มองไกลไม่ชัด แต่มักเป็น
เพียงชั่วคราวก็จะกลับสู่ภาวะปกติ แต่เมื่อมีการเพ่งจอคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ๆ ต่อเนื่องกันเป็น
เวลานาน จะเป็นสาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กๆ 




4. ปัญหามองเห็นภาพซ้อน (Double Vision)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th




เกิดจากการเพ่งตามากจนกล้ามเนื้อตาอ่อนล้าทั้ง 2 ข้าง ส่งผลให้การรวมภาพของตาทั้ง 2 ข้าง 
ผิดปกติไป จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อนได้ มักเป็นในรายที่เพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันทั้งวันโดย
ไม่หยุดพัก ซึ่งมักจะมีอาการดีขึ้นหลังจากได้พักสายตาก็จะกลับมามองเห็นปกติ




โรคต้อหิน (Glaucoma)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th




     นอกจกาโรค CVS แล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งเกิดจากความดันลูกตา
ที่สูงกว่าปกติและความไม่สมดุลระหว่างการใช้สายตาและปริมาณเลือดแดงที่เข้ามาเลี้ยงเซลล์
ประสาทตาภายในลูกตา เมื่อมีการใช้สายตามากขึ้นทำให้มีผู้ป่วยโรคต้อหินเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
นี้ เนื่องจากเซลล์ประสาทตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจะค่อยๆ ทยอยเสื่อมและตายลงไป
เรื่อยๆ โดยมากมักมีอาการ ตาพร่า ตามัว สู้แสงไม่ได้ มองในที่มืดแย่ลง เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน 
หรือตามืดบอดชั่วขณะหนึ่ง เห็นจุดแสงดำขาวเต็มไปหมด หรือเห็นเป็นแสงระยิบระยับเมื่อมองไป
กลางแดด เห็นดวงไฟมีแสงเจิดจ้าเป็นรัศมี ลานสายตาแคบเข้ามาเรื่อยๆ ในรายที่เป็นมาก หากไม่
ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงขั้นตาบอดได้ 


     เมื่อได้ทราบสาเหตุและปัญหาจากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนแล้ว แต่ด้วย
เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตในปัจจุบันของเรา เราไม่สามารถ
ปฏิเสธการใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ ดังนั้นเราควรทราบวิธีดูแลและป้องกันโรค CVS ไม่ให้เกิดขึ้น
กับสายตาของเราได้ดังนี้


1. จัดตำแหน่งการทำงานให้เหมาะสมแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีแสงจากหน้าต่างส่องเข้าตาโดยตรง
    และอย่าปิดไฟในห้องนอน แล้วเล่นคอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ สูงพอเหมาะ จัดระดับของจอภาพ
    ให้อยู่ต่ำกว่าสายตาประมาณ 10 - 15 องศา ตาที่มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ต้องห่างจากหน้าจอ
    ประมาณ 45 - 70 เซนติเมตร


2. ใช้หลัก 20 - 20 - 20 คือทุกๆ 20 นาทีควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ 20 วินาที และมองสิ่ง
    สวยงามสบายตาที่ห่างไกลออกไป 20 ฟุตโดยไม่ต้องเพ่ง เมื่อรู้สึก เคืองตา ปวดตา หรือแสบตา
    ให้พักสายตาทันที อย่าฝืนทำงานต่อ 


3. กระพริบตาประมาณ 10 - 15 ครั้งต่อนาที เพื่อป้องกันภาวะตาแห้งหรือให้หลับตาพักซัก 3 - 5
    วินาทีบ่อยๆ เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตามาฉาบตาเพื่อให้ความชุ่มชื้นต่อลูกตา หรืออาจเพิ่ม
    ความชื้นในห้องทำงานด้วยการวางแก้วน้ำเมื่อต้องทำงานในห้องปรับอากาศ ในรายที่ตาแห้ง
    เป็นประจำควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อบรรเทาอาการตาแห้ง


4. ปรับขนาดตัวหนังสือบนหน้าจอให้เหมาะสม ไม่เล็กเกินไป เพราะจะทำให้เราต้องเพ่งตามอง 
    มากกว่าปกติ


5. ปรับแสงสะท้อนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ไม่เล็กเกินไป เพราะจะทำให้เราต้องเพ่ง
    ตามองมากกว่าปกติ


6. ใช้งานคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนในเรื่องที่มีความจำเป็น เพื่อถนอมดวงตาของเรา
    




     นอกจากการดูแลเรื่องสายตาแล้ว เรายังควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เช่น เปลี่ยนท่านั่ง 
หมุนคอ หมุนไหล่ หมุนเอว สะบัดข้อมือ ข้อนิ้ว เดินไปเดินมาให้เป็นนิสัยทุกครั้งที่มีการใช้
คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดกระดูกที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกด้วย

     ด้วยความทันยุคทันสมัยกับโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นล่าสุด ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกๆ ท่าน
จะได้ความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อดูแลสุขภาพทางตาของเราให้มีความสามารถในการใช้งาน
อย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป ด้วยความปารถนาดีจากใจครับ




เรื่องสุขภาพดวงตาของเราสำคัญมากๆ ที่คุณไม่ควรละเลย
ทุกครั้งที่เราใช้ดวงตา เราควรคำนึงถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดในเวลา
หลังด้วย เพราะอย่างที่เห็นดวงตาของเรานั้นสำคัญต่อการใช้
ชีวิตของเราแบบไหน แล้วพบกันกับบทความดีๆ แบบนี้ใน
บทความต่อไปที่ Healthofproduct จะนำมาฝากกันนะครับ
ไม่นานเกินรออย่างแน่นอน




ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพดีๆ 

โดย นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์