วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โรคข้อ โรคที่เราทุกคนมีโอกาศเป็นเมื่อสูงอายุ

Healthofproduct วันนี้กลับมากับบความสุขภาพ เกี่ยวกับเรื่องของ
โรคข้อ ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทรมานสำหรับคนมีอายุเยอะ แต่ก็ไม่
เสมอไปบางทีอายุน้อย ก็สามารถเกิดได้ เราไปทำความรู้จักกับ
โรคข้อกันเลยดีกว่า 




โรคข้อ (JOINT DISEASE)



Credit ภาพ โดย www.google.co.th


ความจริงที่เกี่ยวกับ โรคข้อ


1. โรคข้อเป็นโรคเรื้อรังที่มีปัญหาระดับชาติที่สำคัญมากและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วย
    เกิดภาวะทุพพลภาพ แต่จะพบได้บ่อยขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น เป็นโรคที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้
    ป่วยไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมในการรักษาโรคนี้มีผลต่อ
    เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียโอกาศการทำงาน


2. ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบคนเป็นโรคข้อถึง 1 ใน 3 ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งประเทศ
    ประมาณ 66 ล้านคน หรือเท่ากับประชากรไทยทั้งประเทศ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการรักษา
    โรคข้อในประเทศสหรัฐอเมริกา สูงถึงปีละ 3.5 ล้านล้านบาท


3. ในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคข้อสูงถึง 6 ล้านคน จากข้อมูลของมูลนิธิโรคข้อ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้
    ความเ้าใจโรคข้อ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคข้อเมื่อเรามีอายุมากขึ้น




โรคข้อ เป็นกลุ่มโรคที่...

เกิดการอักเสบขึ้นบริเวณโครงสร้างภายใน และภายนอกของข้อ โดยมีลักษณะอาการ เจ็บปวดตามข้อ
ข้อบวม แดง ร้อน อาการฝืดตึงขัดในการเคลื่อนไหวของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ 
การผิดรูปร่างของข้อ รวมไปถึงอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ 


โรคข้อ บางโรคมีลักษณะ

ตามแบบที่กล่าวมาหรือมีลักษณะที่แตกต่างไปบ้าง ซึ่งหากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ
ก็สามารถดูแลและป้องกันมิให้โรคกำเริบได้ แต่หากดูแลผิดวิธีหรือไม่ถูกต้องตามหลักการแพทย์
อาจจะทำให้ข้อเกิดอาการอักเสบและกำเริบมากขึ้นจนถึงขั้นเรื้อรังหรือพิการถาวรก็เป็นได้





Credit ภาพ โดย www.google.co.th



โรคข้อแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 


1. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะจากการรับน้ำหนักและการใช้งานมานาน มีอาการเจ็บปวดข้อ ข้อบวม
    การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ แต่ไม่มีลักษณะของ
    การแดงร้อนและกดเจ็บตามข้ออย่างชัดเจน อาทิเช่น กลุ่มอาการของ โรคข้อกระดูกเสื่อม
    โรคข้อกระดูกันหลังเสื่อม เป็นต้น


2. กลุ่มโรคข้อที่มีลักษณะการอักเสบภายในข้อ มีอาการเจ็บปวดข้อบวม แดง ร้อน การกดเจ็บตามข้อ 
    การฝืดตึงขัดของข้อ การสูญเสียการทำงานของข้อ การผิดรูปร่างของข้อ อาทิเช่น โรคข้ออักเสบ
    จากการติดเชื้อ โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น




สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อ 


1. อายุ พบมากในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะเป็นในกลุ่มอาการของโรคข้อเสื่อม

2. เพศ เพศหญิงจะมีโอกาศเกิดโรคข้อมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่าตัว 

3. ความอ้วนหรือระดับน้ำหนักตัวมาก มักทำให้ข้อเข่า ข้อสะโพกหรือข้อสันหลังต้องรับน้ำหนักมากกว่า
    ธรรมดา ซึ่งจะทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วมากยิ่งขึ้น

4. ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน ส่วนมากมักเกิดบริเวณข้อเข่า

5. กรรมพันธุ์ บางรายมีกระดูกอ่อนที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด และอาการจะชัดเจนขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

6. โภชนาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดผลึกเกลือต่างๆ อาหารที่ทำจากสัตว์ปีก 
    ทำให้เป็นโรคเกาต์ 




โรคข้อที่พบได้บ่อย 


1. โรคข้อเสื่อม


     มักเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ส่วนมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บ
ปวดตามข้อเข่า ข้อนิ้วมือ กระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง ข้อจะติดขัด ขยับไม่ค่อยออก อาจมีเสียง
สั่นดังในข้อ ข้ออาจเป็นตุ่มนูน ข้อคดงอ หลวม คลอนได้ 


2. โรคเกาต์


     มักจะเกิดกับผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปพบว่าเพศชายเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศหญิง ในระยะแรกการ
ปวดบวมตามข้อมักจะเป็นๆ หายๆ และมักจะเป็นบริเวณโคนข้อ หัวแม่เท้าและข้อเท้า ระยะหลังพบว่า
เป็นข้อตามผิวหนัง ตามข้อเท้าและข้อศอกได้ อาจมีอาการปวดเอวและปัสสาวะเป็นเลือด มักจะเกิด
ร่วมกับคนที่มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ


3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์


     มักจะเกิดในคนที่อายุระหว่าง 20 - 50 ปี เพศหญิงจะพบว่าเป็นมากกว่าเพศชาย ซึ่งอาการเจ็บปวด
และบวมตามข้อมักจะเรื้อรังและเป็นในหลายๆ ข้อ และจะมีอาการข้อยึดเป็นอย่างมากในตอนเช้าๆ 
ข้อมักจะบวม ระยะท้ายๆ ข้อจะคดงอและพิการผิดรูปร่างจะไม่สามารถงอข้อได้ โรคนี้เป็นมากๆ 
อาจถึงขนาดทำให้เป็นง่อยได้ 




การรักษา 


1. การรักษาทางยา


ควรเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคข้อชนิดนั้นๆ และเหมาะสมกับปัญหาที่พบในระยะของโรค ยาบางชนิด
นอกจากให้ผลของการรักษาที่ดีแล้ว ยังอาจสร้างอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยได้ด้วย
ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยาแต่ละชนิด 


     - ภาวะแทรกซ้อนจากยาลดอักเสบแบบดั้งเดิม (NSAIDs) อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ 
อาเจียน มีแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น


     - ภาวะแทรกซ้อนจากยาสเตียรอยด์ อาจทำให้อ้วน และความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกผุ 
ติดเชื้อง่าย



2. การรักษาทางกายภาพบำบัด


เป็นการรักษาเพื่อลดอาการ และป้องกันการพิการของข้อและฟื้นฟูสมรรถภาพข้อให้ใช้งานได้ดีขึ้น 
การรักษาแบบนี้เป็นการรักษาที่จะต้องนำมาใช้ควบคู่กับการรักษาทั้งทางยาและการผ่าตัด 



3. การรักษาทางการผ่าตัด


จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบว่าข้อมีความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาหรือกายภาพบำบัด การผ่าตัด
จึงเป็นทงเลือกเพื่อแก้ไขความพิการหรือเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ข้อนั้นๆ 





     เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความดีๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโรคข้อ
ทั้งหมดนี้เราต้องศึกษาไว้ เพราะมันสำคัญต่อเรามากๆ 
หวังว่า ความรู้นี้จะช่วยหลายคนที่เข้ามาอ่านได้มีความรู้ความเข้าใจ
และสาเหตุของโรคได้ Healthofproduct ครั้งหน้าก็จะกลับมา
กับทความที่เกี่ยวกับเรื่องข้ออีก รอไม่นานอย่างแน่นอน




ขอขอบคุณที่มาสาระและประโยชน์ดีๆ โดย

นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น